รู้จัก CFA ใบเบิกทางขั้นสูง ของการทำงาน ด้านการเงิน /โดย ลงทุนแมน
สำหรับคนที่ทำงานในสายการเงิน การลงทุน
นอกเหนือจากความรู้ที่ร่ำเรียนกันมาในสมัยมหาวิทยาลัยแล้ว ยังมีอีกหนึ่งหลักสูตร ซึ่งเป็นคุณวุฒิด้านการเงิน การลงทุน ที่สำคัญ และถือว่ามีมาตรฐานจนได้รับการยอมรับในระดับสากล
คุณวุฒิดังกล่าว มีชื่อว่า “Chartered Financial Analyst” หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า “CFA”
CFA คืออะไร ทำไมคนที่เอาจริงเอาจังในด้านการเงิน การลงทุน ถึงอยากจะมีคุณวุฒินี้ มาต่อท้ายชื่อ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
คุณวุฒิ CFA ถูกพัฒนาขึ้น โดยสถาบันที่มีชื่อว่า “CFA Institute” ของสหรัฐอเมริกา โดยผู้ที่สามารถใช้คุณวุฒิดังกล่าวได้นั้น ต้องมีการสอบผ่านโปรแกรม CFA มาก่อน
ซึ่งเนื้อหาสาระของโปรแกรมนี้ จะเกี่ยวข้องกับวิชาด้านการเงินและการลงทุน โดยครอบคลุมหลายหลากหัวข้อ เช่น
- สถิติ และทฤษฎีความน่าจะเป็น
- ตราสารทางการเงิน
- เศรษฐศาสตร์
- การบริหารการเงิน และวิเคราะห์ทางการเงิน
- การลงทุนทางเลือก การจัดการพอร์ตโฟลิโอ จรรยาบรรณ และความรู้ทั่วไปในด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเงินและการลงทุน
ความเข้มข้นในหลักสูตรของ CFA นั้น บางคนถึงขนาดบอกว่า มีระดับความยากกว่าหลักสูตรด้านการเงินและการลงทุน ที่สอนกันในระดับมหาวิทยาลัยหลายเท่าเลยทีเดียว
การสอบ CFA จะมีด้วยกันทั้งหมด 3 ระดับ แต่ละระดับจะมีความยากง่ายแตกต่างกันออกไป โดยระดับที่ 1 คือง่ายสุด และระดับที่ 3 ถือว่ายากที่สุด
โดยเนื้อหาแต่ละระดับสามารถสรุปได้คร่าว ๆ คือ
- CFA ระดับ 1: จะเน้นความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการลงทุน เช่น การแนะนำการประเมินมูลค่าสินทรัพย์, การรายงานและการวิเคราะห์ทางการเงิน, เทคนิคการจัดการพอร์ตโฟลิโอ, จรรยาบรรณในการทำงานด้านการเงินและการลงทุน
- CFA ระดับ 2: จะเน้นความรู้ที่เจาะลึกมากขึ้นจาก CFA ระดับ 1 ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการประเมินมูลค่าสินทรัพย์, ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์, การรายงานและการวิเคราะห์ทางการเงิน, วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณ และการประเมินมูลค่าสินทรัพย์
- CFA ระดับ 3: จะเน้นการจัดการพอร์ตโฟลิโอ, คำอธิบายของกลยุทธ์ในการใช้เครื่องมือต่าง ๆ, แบบจำลองการประเมินมูลค่าสินทรัพย์ในการจัดการตราสารทุน ตราสารหนี้ และการลงทุนอนุพันธ์สำหรับนักลงทุนบุคคลและนักลงทุนสถาบัน
โดยผู้สอบ จำเป็นจะต้องสอบให้ผ่านระดับก่อนหน้าก่อน จึงสามารถสอบในระดับที่สูงกว่าได้
ที่ผ่านมามีการเก็บสถิติในการสอบผ่านโปรแกรม CFA และพบว่า
ระยะเวลาโดยเฉลี่ยที่คนส่วนใหญ่ใช้จนสอบผ่าน CFA ระดับ 3 จะอยู่ที่ประมาณ 4 ปี ซึ่งพอ ๆ กับระยะเวลาในการเรียนในระดับปริญญาตรี เลยทีเดียว
ในส่วนของค่าสอบนั้น สำหรับผู้ที่เข้าสอบครั้งแรก จะต้องจ่ายค่าแรกเข้าซึ่งจะเก็บเพียงครั้งเดียว และบวกด้วยค่าลงทะเบียนสอบในแต่ละระดับอีกส่วนหนึ่ง
- ค่าแรกเข้าประมาณ 15,000 บาท
- ค่าสมัคร อยู่ระหว่าง 22,750-33,500 บาท (กรณีลงทะเบียนเร็ว ค่าสมัครจะมีราคาถูกกว่า)
สมมติว่า เราต้องการสอบเพื่อให้ได้คุณวุฒิดังกล่าว
เราจะมีค่าใช้จ่ายในการสอบทั้ง 3 ระดับอยู่ที่ประมาณ 83,250-115,500 บาท ซึ่งต้องหมายเหตุว่า เป็นกรณีที่เราสามารถสอบผ่านในแต่ละระดับ ภายในครั้งเดียว
ความน่าสนใจก็คือ เมื่อเราสามารถสอบผ่านจนครบ 3 ระดับแล้ว เรามีสิทธิ์ที่จะใช้คำว่า CFA ต่อท้ายจากชื่อและนามสกุลของเรา เมื่อมีคุณสมบัติอื่นครบถ้วน เช่น เป็นสมาชิกของ CFA Institute ที่ถือปฏิบัติตามมาตรฐาน และจรรยาบรรณวิชาชีพ รวมไปถึง มีประสบการณ์ทำงานที่เกี่ยวข้อง
ด้วยความที่คุณวุฒิ CFA นั้นได้รับการยอมรับในระดับสากล
อีกทั้งเนื้อหาและข้อสอบก็ถือว่ามีความเข้มข้นอย่างมาก
ดังนั้น คนที่ได้รับคุณวุฒิ CFA จะได้รับการยอมรับในแวดวงการเงิน การลงทุน มากพอสมควร
โดยผู้ที่ได้รับคุณวุฒิ CFA สามารถไปทำงานในสายการเงิน การลงทุนได้หลากหลาย
เช่น เป็นนักวิเคราะห์หลักทรัพย์, นักวิเคราะห์ตราสารหนี้, วาณิชธนากร, นักวิเคราะห์การเงิน, ที่ปรึกษาทางการเงิน รวมไปถึงผู้จัดการกองทุน
อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ เรื่องของ ผลตอบแทน
ข้อมูลจาก CFA Institute ระบุว่า ผู้ที่สอบผ่านระดับ 3 และได้รับคุณวุฒิ CFA แล้วนั้น เมื่อเข้าไปทำงานจะมีรายได้เฉลี่ยต่อปี ราว ๆ 5.8 ล้านบาท หรือเฉลี่ยเดือนละ 483,000 บาท (จากการสำรวจ Global)
แม้การสอบผ่าน CFA จะต้องใช้ความพยายาม ความมุ่งมั่นอย่างมาก เพื่อที่จะสอบให้ผ่านทั้ง 3 ระดับ
แต่ใครก็ตามที่สามารถสอบผ่าน และได้รับคุณวุฒิ CFA
นั่นเท่ากับเป็นการบอกถึงความเป็นมืออาชีพในสายการเงิน และการลงทุนของคนคนนั้นได้เป็นอย่างดี
ซึ่งเราก็คงสรุปได้ว่า CFA คือ ใบเบิกทางขั้นสูง
สำหรับคนที่มุ่งมั่นตั้งใจ และเอาจริงเอาจังกับงานด้านการเงิน การลงทุน..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
CFA ถูกจัดสอบขึ้นครั้งแรกในปี 1963 จนถึงปัจจุบัน มีผู้มาสมัครสอบแล้วทั้งหมดรวมกันกว่า 3.3 ล้านคน
ซึ่งในจำนวนนี้มีคนที่สอบผ่าน CFA ระดับ 3 และสามารถขึ้นทะเบียนใช้คุณวุฒิ CFA อยู่ประมาณ 170,000 คน ทั่วโลก..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.set.or.th/professional/Download/knowledge/TSI-Article_Pro_002.pdf
-https://soleadea.org/cfa-2021
-https://en.wikipedia.org/wiki/Chartered_Financial_Analyst
-https://www.schweser.com/cfa/blog/become-a-cfa-charterholder/how-much-will-the-cfa-program-cost-me
-https://www.cfainstitute.org/en/programs/cfa/charterholder-careers
-https://www.cfainstitute.org/-/media/documents/support/programs/cfa/cfa-exam-results-since-1963.ashx
同時也有3部Youtube影片,追蹤數超過7萬的網紅Inorin,也在其Youtube影片中提到,สถิติ 100% Winrate จาก Diamond 2 (0 แต้ม) ชนะ 10 ตาติด ขึ้น Master ไลฟ์สตรีมอยู่ที่ Twitch (เวลา 1 ทุ่ม) : https://www.twitch.tv/inorinchannel -----...
「สถิติ คือ」的推薦目錄:
- 關於สถิติ คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於สถิติ คือ 在 Eat with Pal Li - พี่แป๋วพากินเที่ยวสิงคโปร์ฮ่องกง Facebook 的精選貼文
- 關於สถิติ คือ 在 มติพล ตั้งมติธรรม Facebook 的精選貼文
- 關於สถิติ คือ 在 Inorin Youtube 的精選貼文
- 關於สถิติ คือ 在 BorntoDev Youtube 的最佳貼文
- 關於สถิติ คือ 在 prasertcbs Youtube 的最佳解答
- 關於สถิติ คือ 在 1.2 ความหมายของสถิติ - YouTube 的評價
- 關於สถิติ คือ 在 สถิติเบื้องต้น ม.6 EP.1/10 ความหมายของสถิติ - YouTube 的評價
- 關於สถิติ คือ 在 สำนักงานสถิติแห่งชาติ - รู้หรือไม่? สถิติ (Statistics) คืออะไร สถิติ ... 的評價
สถิติ คือ 在 Eat with Pal Li - พี่แป๋วพากินเที่ยวสิงคโปร์ฮ่องกง Facebook 的精選貼文
🇭🇰 #HongKong
❗️ ปิดโรงแรม Luxe Manor และตึก Tung Lo Court เพื่อตรวจโควิด
.
หายไปหลายวัน ขอต้อนรับสู่ข่าวล็อคดาวน์ยามค่ำอีกครั้งค่ะ 😆
.
คราวนี้ ซีเรียสนิดนึง 🥲 แว่วว่า สถิติ #ไม่พบเคสlocalติดต่อกันเป็นวันที่58 ของฮ่องกง น่าจะสิ้นสุดลงแล้ว 🥲
เพราะมีข่าวว่า สธ เตรียมขึ้นทะเบียนเคส local แบบไม่ทราบต้นตอแล้วในวันพรุ่งนึ้
.
นั่นก็คือ เคสล็อคดาวน์ Sham Shui Po ในคืนนี้ค่ะ
.
==============
#เคสShamShuiPo
(คือ เคสเดียวกันกับที่พี่แป๋วรายงานเมื่อเย็น ที่บอกว่าเป็นเคสที่เคยติดเชื้อไปนานแล้ว แต่ไม่รู้ตัว)
.
รายละเอียด คือ ชายวัย 43 ปี อาศัยอยู่ที่ Block A, Tung Lo Court (Sham Shui Po)
.
เค้าต้องตรวจหาเชื้อโควิดเป็นประจำ จากงานที่ทำ คือ งานก่อสร้าง ไซต์งานอยู่ที่ 248 Queen's Road East และ Shiu Kin Lane (Wan Chai) ซึ่งตั้งแต่เดือน พ.ค. ตรวจไม่พบเชื้อแต่อย่างใด
.
จนกระทั่งวันที่ 2 ส.ค. ไม่มีอาการใดๆ แต่ตรวจพบเชื้อแบบ preliminary จากการเก็บตัวอย่างน้ำลาย ค่า ct สูงมาก (ประมาณ 36-38) ซึ่งแปลว่า ระดับไวรัสในตัวน้อยมาก
ในวันที่ 3 ส.ค. จึงเข้าแอดมิท และตรวจพบภูมิคุ้มกันในร่างกายด้วย
.
สธ เชื่อว่า เคสนี้น่าจะเป็นการกลับมาตรวจพบเชื้อ (re-positive) โดยอาจติดเชื้อตั้งแต่ก่อนเดือน พ.ค. ซึ่งเป็นช่วงที่ฮ่องกงยังมีเคส local แต่เค้าไม่รู้ตัว
.
แต่จากค่าไวรัสในตัวที่ต่ำมาก จึงคาดว่า โอกาสแพร่เชื้อให้ผู้อื่นมีน้อยมากเข่นกัน
.
อย่างไรก็ดี สธ ประกาศตรวจโควิดตามกฎหมาย สำหรับผู้ที่เคยไปตึกที่พัก ที่ทำงาน และสถานที่อื่นๆ ที่เค้าเคยไปแล้ว
.
ปล. (มีข่าวไม่คอนเฟิร์มจากสื่อว่า) อาจขึ้นทะเบียนชายผู้นี้เป็นผู้ติดเชื้อแบบ local ที่ไม่ทราบต้นตอในวันพรุ่งนี้
.
=================
#เคสโรงแรมLuxeManor
.
เคสนี้ คือ เด็กหญิงวัย 13 ปี ซึ่ง สธ มาเก๊าแจ้งมาว่า เป็น close contact ของผู้ติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้าในมาเก๊า
.
ข้อมูลเบื้องต้นพบว่า หลังจากที่เด็กหญิงผู้นี้ ไปทริปกับเด็กหญิงผู้ติดเชื้อในมาเก๊าที่ซีอาน ประเทศจีน และเป็นรูมเมทกัน
.
จากนั้น เด็กหญิงผู้นี้ ก็กลับจากมาเก๊าเข้าฮ่องกงพร้อมสมาชิกครอบครัว 2 คน ภายใต้โครงการ Return2hk (ส่งผลตรวจก่อนเข้า แต่ไม่ต้องกักตัว) และอาศัยอยู่ที่ รร Luxe Manor
.
สธ ให้เด็กหญิงผู้นี้ พร้อมสมาชิกในครอบครัวที่ไปมาเก๊าด้วยกัน เข้ากักตัวที่ศูนย์แล้ว
.
และเนื่องจาก เด็กหญิงชาวมาเก๊าติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้า สธ ฮ่องกงจึงออกคำสั่งปิดโรงแรม Luxe Manor เพื่อตรวจโควิด โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในพรุ่งเช้า
.
นอกจากนี้ ใครที่เคยไปโรงแรมนี้ ตั้งแต่วันที่ 2-4 สค เกิน 2 ชม. ต้องไปตรวจหาเชื้อโควิดตามกฎหมายเช่นกัน ภายในวันที่ 6 สค นี้
.
Source:
https://www.thestandard.com.hk/breaking-news/section/4/178240/Govt-locks-down-Sham-Shui-Po-building-and-Tsim-Sha-Tsui-hotel?fbclid=IwAR0efwbYgqWdGorWfqbaFJsafmoutH8XuErEWk-ymHuNPSKiTNBsvcwx_G8
.
https://www.info.gov.hk/gia/general/202108/04/P2021080400784.htm
.
#EatwithPalLi #พี่แป๋วพากินเที่ยวสิงคโปร์ฮ่องกง 🇸🇬🇭🇰
สถิติ คือ 在 มติพล ตั้งมติธรรม Facebook 的精選貼文
รู้จักกับ Confidence Interval
Confidence Interval เป็นคอนเซปต์ที่คนทั่วๆ ไปมักจะรู้จักกันน้อยมาก ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงแล้ว มันเป็นคอนเซปต์ที่เราคุ้นเคยกันดีมาก และเราก็ใช้กันอยู่ทุกวันในชีวิตประจำวัน
วิทยาศาสตร์นั้นใช้ “คณิตศาสตร์” เป็นภาษาหลักในการสื่อสาร และเรามักจะวัด “ปริมาณ” ออกมาแทนเป็นตัวเลขเสมอ เวลาเราอ่านข่าว เรามักจะคุ้นเคยกับการรายงานตัวเลขเพียงตัวหนึ่ง แทนค่าอะไรสักอย่าง เอกภพมีอายุ 13.8 พันล้านปี โลกมีรัศมี 6,378 กม. ปริมาณ antibody ในกระแสเลือด คือ 9000 U/mL ฯลฯ ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วในทางวิทยาศาสตร์เราจะไม่ได้วัดค่าเป็นตัวเลขเพียงตัวเดียว แต่จะเป็นช่วงตัวเลขช่วงหนึ่ง ที่เรียกว่า “Confidence Interval”
อาจารย์สอนวิชาเคมีวิเคราะห์ที่ผมเรียนด้วย ครั้งหนึ่งเคยพูดเอาไว้ ในประโยคแรก ของคาบเรียนแรกของวิชาว่า
“Every measurement is a lie, the difficulties come when you try to believe it”
“ทุกๆ การวัดก็คือการโกหก ปัญหามันอยู่ที่ว่าเราพร้อมจะเชื่อมันได้แค่ไหน”
ลองจินตนาการดูว่าเราไปซื้อหมูสับที่ตลาด แม่ค้าก็หยิบหมูมากำมือหนึ่ง น้ำหนัก(มวล)ที่แท้จริงของหมูสับนั้นเป็นเป็นค่าๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีใครหรือสิ่งใดในเอกภพที่จะสามารถทราบได้ สิ่งที่ตาชั่งของแม่ค้าบอกนั้นเป็นเพียงการ “ประมาณ” น้ำหนักของหมูชิ้นนั้นเท่านั้น
สมมติว่าตาชั่งนั้นบอกว่าหมูหนัก “สองขีด” แท้จริงแล้ว “สองขีด” นั้นไม่ใช่น้ำหนักที่แท้จริงของหมู แต่เป็นเพียงการประมาณค่าน้ำหนักจริงของเนื้อหมู ที่อยู่ระหว่างสองขีดบวกลบกับค่าความคลาดเคลื่อนที่ได้จากเครื่องมือ
ซึ่งความเป็นจริงแล้ว นี่ไม่ได้เป็นเพียงคอนเซปต์ในอุดมคติอันสวยหรู และเรื่องมากอะไรของนักวิทยาศาสตร์เพียงอย่างเดียว แต่เป็นสิ่งที่เราทุกคนใช้ และตกลงกันอยู่ในชีวิตประจำวัน
เพราะเวลาเราตกลงซื้อ “หมูสองขีด” กับแม่ค้า เราก็ไม่ได้มีความคาดหวังว่าจะต้องซูมเข้าไปดูเข็มว่ามันอยู่ที่ 200 กรัม กับอีกกี่มิลลิกรัม หรือไมโครกรัม เราอาจจะพอใจ และไม่ได้ติดใจอะไรกับแม่ค้า ตราบใดที่นน. ของหมูนั้นอยู่ในค่าที่ “ยอมรับได้” ซึ่งสำหรับหมูสองขีดนี้อาจจะอยู่ในขอบเขต 150-250 กรัม (ขีดครึ่งถึงสองขีดครึ่ง) ก็ยังไม่น่าเกลียดอะไรมาก (เว้นเสียแต่คุณจะเป็นทนายความหัวหมอคนหนึ่งในเมืองเวนิส)
นั่นหมายความว่า เวลาเราบอกกันว่า “หมูสองขีด” แท้จริงแล้วเรากำลังบอกว่า “ตั้งแต่ขีดครึ่งกว่าๆ ไปจนถึงสองขีดครึ่ง” หรือเวลาเราบอกว่าเราใช้เวลาสองชม. เดินทางกลับบ้าน เราไม่ได้หมายความว่า “สองชั่วโมง ศูนย์นาที ศูนย์วินาที ศูนย์มิลลิวินาที” ไม่ขาดไม่เกิน แต่เราหมายความว่า “ระหว่าง ชั่วโมงนิดๆ ไปถึงเกือบสามชม”
ซึ่งไอ้ “ขอบเขตที่ยอมรับได้” นี่เอง ที่เกี่ยวข้องกับ “Confidence Interval” และมีความเกี่ยวข้องกับ “เลขนัยะสำคัญ” เพราะมันเป็นตัวบอกว่าเรา "พร้อมที่จะเชื่อคำโกหกนั้นแค่ไหน" เช่น คนที่บอกว่าใช้เวลากลับบ้าน “สองชั่วโมง” นั้นกำลังพยายามสื่อถึงขอบเขตที่ยอมรับได้ ที่แตกต่างจากผู้ที่บอกว่าใช้เวลากลับบ้าน “หนึ่งชั่วโมง สี่สิบเจ็ดนาที” เพราะเราคงไม่จำเป็นต้องระบุว่าสีสิบเจ็ดนาที ถ้าเราไม่ได้มั่นใจในหลักนาทีที่สำคัญขนาดนั้น
และนี่เป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงไม่ควรจะอ่านตัวเลขทุกหลักที่ได้จากเครื่องคิดเลข เช่น ป้ายยอดดอยอินทนนท์เขียนเอาไว้ว่าดอยอินทนน์มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 2,565.3341 เมตร (เขียนงี้จริงๆ ไม่เชื่อลองไปดู) ซึ่งการระบุความแม่นยำไปถึงหลัก 0.1 มิลลิเมตรนั้นสื่อว่าความสูงที่วัดได้นี่นั้นแม่นยำยิ่งกว่าความสูงของเม็ดทรายหนึ่งเม็ด ซึ่งเป็นไปไม่ได้ (คือแค่คนวัดยืนหายใจความสูงก็เปลี่ยนไปมากกว่าทศนิยมที่เขากล่าวอ้างแล้ว)
ซึ่งในทางวิทยาศาสตร์นั้นก็ใช้หลักการเดียวกัน แต่เรามีการระบุให้รัดกุมไปกว่านั้น โดยเราจะบอกเป็น Confidence Interval ควบคู่ไปกับเปอร์เซ็นต์ความน่าเชื่อถือของขอบเขตนั้น หรือที่เรียกกันว่า Confidence Level หรือ "เรามั่นใจแค่ไหน ว่าคำตอบนั้นอยู่ในขอบเขตที่เราระบุเอาไว้"
เราสามารถนึกถึง Confidence Level ง่ายๆ โดยการจินตนาการแบบนี้ “สมมติว่าเราต้องวางเงินเดิมพันว่าค่าของเขตที่เรารายงานนั้นครอบคลุมไปถึงค่าที่แท้จริง เราจะกล้าเดิมพันแค่ไหน” แน่นอนว่าเราไม่มีวันมั่นใจได้ “100%” แต่หากเราพูดถึงการเดิมพัน ยิ่งเรามั่นใจมาก เราก็อาจจะยอมที่จะเดิมพันที่เสี่ยงมากขึ้น เช่น หากเรามั่นใจว่าเราจะถูกถึงมากกว่า 95% ต่อให้เดิมพันเสียเปรียบ 1 ต่อ 20 ก็ยังนับเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่จะเสี่ยง
ดังนั้นค่าทุกค่าที่รายงานในทางวิทยาศาสตร์ นั้นจะมีอยู่สองส่วนเสมอ (ไม่ว่าจะละเอาไว้ในฐานที่เข้าใจหรือไม่ก็ตาม) นั่นก็คือเปอร์เซนต์ความเชื่อมั่น ว่าผู้รายงานมีความเชื่อมั่นในตัวเลขนี้เท่าใด และช่วงขอบเขตของตัวเลขที่สอดคล้องกับเปอร์เซนต์ความเชื่อมั่นเท่านั้น
ซึ่งยิ่งเราระบุขอบเขตให้กว้างเท่าไหร่ก็จะยิ่งมีโอกาสที่ค่าจริงจะอยู่ในขอบเขตนั้นมากขึ้นเพียงเท่านั้น เราอาจจะไม่มั่นใจเท่าไหร่ว่าหมูชิ้นนี้จะมีน้ำหนักระหว่าง 199.999 กรัมไปจนถึง 200.001 กรัม แต่เรามั่นใจค่อนข้างมากว่า น้ำหนักน่าจะอยู่ระหว่าง 100-300 กรัม และเรามั่นใจล้านเปอร์เซ็นต์ ว่าน้ำหนักของหมูนั้นมากกว่าศูนย์ แค่น้อยกว่ามวลของเอกภพ (แต่ขอบเขตที่ได้จากความมั่นใจเว่อร์ระดับนี้นั้นอาจจะไม่ได้มีความหมายเสียเท่าไหร่)
เช่น นักวิทยาศาสตร์ที่ชั่งสารอาจจะบอกว่า ตัวอย่างนี้มีมวล 200.0 +/- 0.2 g with 95% Confidence Interval รัศมีของโลกมีระยะทาง 6.3781366 +/- 1 x10^6 m ซึ่งยิ่งเครื่องมือมีความแม่นยำเพียงใด เราอาจจะยิ่งได้ขอบเขตของความน่าเชื่อถือที่แคบเท่านั้น แต่เราไม่มีวันที่จะสามารถหาน้ำหนักหรือรัศมี “ที่แท้จริง” เป๊ะๆ ได้เลย เราได้แต่เพียงทำให้ขอบเขตเล็กลงเรื่อยๆ
นอกจากความแม่นยำของเครื่องมือแล้ว อีกปัจจัยหนึ่งก็คือเรื่องของ “สถิติ” เช่น หากเราทำการสำรวจน้ำหนักของประชากรชาวไทย เราจะพบว่าน้ำหนักแต่ละคนนั้นมีการกระจายตัวออก และไม่เท่ากัน เราก็จะใช้ Confidence Interval และ Confidence Level ในการรายงานค่าที่เป็นตัวแทนของประชากรนี้ได้เช่นกัน ว่าเรามีความมั่นใจเพียงใด ว่าค่าที่แท้จริงจะอยู่ในขอบเขตนี้ แน่นอนว่าในประชากรที่มีค่าที่แตกต่างกันมาก ขอบเขตของความเชื่อมั่นย่อมที่จะกระจายตัวได้กว้างเป็นธรรมดา
ซึ่งการรายงาน Confidence Interval ที่ไม่สอดคล้องกับข้อมูล แน่นอนว่าเทียบเท่ากับการ “บิดเบือนความจริง” เพราะเรากำลังจะบอกว่าเรามั่นใจว่าค่าจริงนั้นอยู่ในช่วงนี้ ทั้งๆ ที่ความเป็นจริงแล้วข้อมูลไม่ได้บ่งชี้เช่นนั้นเลย
เช่น หากเรามีข้อมูลเพียงสองจุด แต่เรากลับแทนค่า Confidence Interval ด้วย “พิสัย” ของข้อมูล (ดังภาพ) เท่ากับเรากำลังบอกว่าข้อมูลที่เราวัดเพียงสองครั้งนั้น ได้สะท้อนถึงขอบเขตบน และขอบเขตล่างของค่าจริงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และเท่ากับเป็นการบ่งชี้ว่าเรามีความเชื่อมั่นว่าในการวัดครั้งถัดไป เราจะได้ค่าที่อยู่ระหว่างสองครั้งแรกที่วัดอย่างแน่นอน เปรียบเทียบได้กับการอ้างว่า เพียงสองครั้งที่เราวัดนั้น เราได้บังเอิญสุ่มได้ค่าที่มากที่สุด และน้อยที่สุดไปโดยบังเอิญภายในสองครั้งแรกที่ทำการวัด
หากเปรียบเทียบ ก็เปรียบได้กับการทอยลูกเต๋าที่เราไม่ทราบว่ามีกี่ด้าน และมีตัวเลขเท่าใดบ้างสองครั้ง ได้เลข 4 กับเลข 6 แล้วเราก็สรุปว่าค่าส่วนมากที่เต๋าลูกนี้จะทอยได้นั้น จะอยู่ระหว่าง 4 ถึง 6
เราอาจจะคิดว่า การโกหกข้อมูลมันทำได้เฉพาะการรายงานค่าเฉลี่ยที่ไม่ตรงตามความเป็นจริง แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้น อย่างที่บอกไปแล้วว่าข้อมูลทางวิทยาศาสตร์นั้นมีทั้งเปอร์เซ็นต์ความน่าเชื่อถือ กับขอบเขตตัวเลข ซึ่งแม้ว่าเราจะรายงานค่าเฉลี่ยถูกต้อง แต่หากเรารายงานความน่าเชื่อถือ หรือขอบเขตที่ผิดไป (หรือไม่รายงาน) เราก็สามารถทำให้คนอ่านเข้าใจผิดได้เช่นกัน เช่นข้อมูลที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ แต่แอบอ้างให้คนอ่านเข้าใจว่ามีความน่าเชื่อถือสูงกว่าที่ควรจะเป็น หรือการทำให้ขอบเขตแคบกว่าที่คิด (โดยการเลือกความน่าเชื่อถือที่ต่ำลง เป็นต้น) ก็อาจทำให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับข้อมูลได้เช่นกัน
เช่น หากดูค่าเฉลี่ยเปรียบเทียบแล้วเราอาจจะพบว่าข้อมูลชุดหนึ่งมีค่าเฉลี่ยสูงกว่า แต่หากเราพิจารณาขอบเขตที่ 95% CI แล้วเราจะพบว่าข้อมูลส่วนมากมีความคาบเกี่ยวกันเสียส่วนมาก ทำให้ข้อสรุปที่ได้ควรจะเป็นว่าสองข้อมูลนี้ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยะสำคัญ แต่หากเราเปลี่ยนไปเลือก 65% CI เราอาจจะพบว่าขอบเขตที่น่าเชื่อถือของข้อมูลทั้งสองนั้นแยกจากกันมากขึ้น เราอาจทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิดไปว่าข้อมูลทั้งสองนั้นแตกต่างกันมากกว่าที่ควรจะเป็น
ซึ่งแน่นอนว่านี่ไม่ใช่หลักการทางสถิติที่ควรจะเป็น
ป.ล. หลังจากที่หลายๆ คนทักมา และดูเพิ่มเติมแล้ว เข้าใจว่า “ที่มา” ของกราฟ n=2 จะใช้ Interquartile range Q1 Q3 แทนนะครับ ซึ่งเนื่องจากข้อมูลมีไม่พอ เลยถูกปัดไปเป็น min/max โดยปริยาย ซึ่งแม้ว่า IQR จะมีความหมายแตกต่างจาก CI พอสมควร แต่โดยหลักการที่ข้อมูลไม่ได้แสดงแทนด้วยเลขตัวเดียว แต่แทนถึงประชากรที่มีความหลากหลาย ก็ไม่ได้แตกต่างกันมากครับ
สถิติ คือ 在 Inorin Youtube 的精選貼文
สถิติ 100% Winrate จาก Diamond 2 (0 แต้ม) ชนะ 10 ตาติด ขึ้น Master
ไลฟ์สตรีมอยู่ที่ Twitch (เวลา 1 ทุ่ม) : https://www.twitch.tv/inorinchannel
---------------------------------------------------------------
ถ้าหากชอบช่วยกด ถูกใจ/แชร์ คลิปนี้ หรือ
Subscribe เพื่อดูคลิปใหม่ๆนะครับ
สำหรับคนที่อยากคอมเม้นอะไรก็คอมเม้นทิ้งไว้ด้านล่างเลย
-------------------------------------------------------------
Twitch : https://www.twitch.tv/inorinchannel
Youtube : https://www.youtube.com/c/Inorinchannel
Fan Page : https://www.facebook.com/inorinchannel/
ถ้าใครวาด FanArt มาให้ สามารถส่งมาได้ที่ Fan Page นะครับ
-------------------------------------------------------------
สถิติ คือ 在 BorntoDev Youtube 的最佳貼文
รู้ไหมว่าสถิติ และ ตัวเลขเรื่องที่เรามักโดนหลอกหลอนตั้งแต่ประถม มัธยม มหาวิทยาลัยที่ยากๆ ยังหลอกเราไม่ได้บ่อยเท่าเรื่องง่าย ๆ !!? วันนี้เรามาลองหาคำตอบกับเรื่องราวที่ซ่อนอยู่ในตัวเลขกันว่า สิ่งที่เราเห็น มันใช่แบบนั้นจริงๆ หรือเปล่า กับเรื่อง "ค่าเฉลี่ย" กันครับ ^_^
▲ ติดตามช่องของเราได้ที่ : http://bit.ly/borntoDevSubScribe
▲ Facebook : https://www.facebook.com/borntodev
▲ Website : http://www.borntodev.com
?BorntoDev Channel คือ ช่องยูทูปที่เน้นสาระด้านเทคโนโลยี ไปพร้อมกับความสนุกสนาน และ รอยยิ้มเข้าไว้ด้วยกันทั้งในรูปแบบบทเรียน และ vlog
เพื่อการเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้ด้านการพัฒนาโปรแกรม และ เทคโนโลยีแบบเดิม ๆ ที่เป็นเรื่องเฉพาะกลุ่มให้เข้าถึง เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยพัฒนาเน้นไปที่รูปแบบการนำเสนอใหม่ ๆ ที่เป็นมิตรกับทุกคน
โดยมีผู้ดำเนินรายการหลัก 2 คนคือ
"เปรม BorntoDev" ผู้ชื่นชอบ และ หลงไหลด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รวมถึงการพัฒนาโปรแกรมเป็นชีวิตจิตใจ มีความสุขมากที่ได้ถ่ายทอด และ แลกเปลี่ยนความรู้ เพราะทำให้นึกถึงสมัยยังเป็นเด็กที่เริ่มต้นเขียนโปรแกรมแล้วได้รับการสนับสนุนจากผู้ใหญ่ใจดีในโลก Internet ที่ไม่เคยเห็นหน้าตากันมาก่อน แต่กลับยินดีแบ่งปันให้กัน
"ไกด์ BorntoDev" ชายผู้ที่บอกว่าเป็นพี่น้องกับคนข้างบนหรือเปล่า คำตอบคือไม่ใช่ แต่เขาสนใจด้านเทคโนโลยี การพัฒนาแอปพลิเคชัน ชอบความสนุก จัดกิจกรรม และ ที่ไม่พลาดคือการซื้อเกมมาดองแล้วไม่ได้เล่น เห็นหน้านิ่ง ๆ แบบนี้ดองเกมใน Steam เป็นแสน ๆ นะบอกเลย
▲ กิจกรรมใน Channel BorntoDev เป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินงานของ บริษัท บอร์นทูเดฟ จำกัด ที่เปิดรับ Partners ที่สนใจร่วมเปลี่ยนแปลงให้สังคมไทยเป็นสังคมด้านวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น หากคุณสนใจสนับสนุน และ ก้าวไปพร้อมกัน สามารถติดต่อร่วมงานได้แล้ววันนี้
▲ ติดต่อโฆษณา สนับสนุน และ ร่วมงานได้ที่: borntodevth@gmail.com
สถิติ คือ 在 prasertcbs Youtube 的最佳解答
การแยกข้อมูลที่อยู่ในหนึ่งคอลัมน์ให้เป็นหลายคอลัมน์ เช่น
1) แยกคอลัมน์ข้อมูลวันที่ให้เป็น 3 คอลัมน์ คือ ปี เดือน วัน
2) แยกคอลัมน์ที่เก็บค่าความละเอียดแบบพิกเซล เช่น 1280x720 ให้เป็น คอลัมน์ width และ height
============
ดาวน์โหลดไฟล์ตัวอย่างได้ที่ https://goo.gl/pY7mX4
============
playlist สอนการใช้โปรแกรม R เบื้องต้น
https://www.youtube.com/playlist?list=PLoTScYm9O0GGSiUGzdWbjxIkZqEO-O6qZ
============
playlist สอนการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา R เบื้องต้น
https://www.youtube.com/playlist?list=PLoTScYm9O0GF6qjrRuZFSHdnBXD2KVICp
============
playlist สอนการสร้างกราฟด้วยโปรแกรม R เบื้องต้น
https://www.youtube.com/playlist?list=PLoTScYm9O0GEvw9bN_Q8nRdDUPyaSymqM
============
playlist การสร้างกราฟด้วย ggplot2
https://www.youtube.com/playlist?list=PLoTScYm9O0GFEu7flht1Fv_gsT2mizgPW
============
เชิญสมัครเป็นสมาชิกของช่องนี้ได้ที่
https://www.youtube.com/subscription_center?add_user=prasertcbs
สถิติ คือ 在 สถิติเบื้องต้น ม.6 EP.1/10 ความหมายของสถิติ - YouTube 的必吃
... 1:50 แหล่งที่มาของข้อมูล มีมาจากทางไหนบ้าง และแต่ละแหล่งที่มามีตัวอย่างอะไรบ้าง 3:03 ข้อมูลประชากร ข้อมูลตัวอย่าง และค่า สถิติ คือ อะไร ... ... <看更多>
สถิติ คือ 在 สำนักงานสถิติแห่งชาติ - รู้หรือไม่? สถิติ (Statistics) คืออะไร สถิติ ... 的必吃
สถิติ (Statistics) แบ่งเป็น “ข้อมูลสถิติ” และ “ศาสตร์” ข้อมูลสถิติ คือตัวเลขที่ใช้บรรยายเหตุการณ์หรือข้อเท็จจริงต่างๆ/ ตัวเลขที่แสดงถึงลักษณะสำคัญบางอย่างของ ... ... <看更多>
สถิติ คือ 在 1.2 ความหมายของสถิติ - YouTube 的必吃
เล่ม : คณิต พื้นฐาน ม.4-6 เล่ม3 บท : สถิติและข้อมูล Playlist ... 1.2 ความหมายของสถิติ ... ประเภทของสถิติวิจัย - สถิติคือ อะไร มีกี่ประเภท? ... <看更多>